วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์และแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ 2

การบู้ตขั้นที่ 1 : การตรวจสอบฮาร์ดแวร์
                ขั้นแรกจะมีการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ว่าทำงานและมีการตอบสนองต่อระบบอย่างถูกต้อง โดย Controller จะถามถึงฮาร์ดแวร์ว่าอยู่ที่นั่นหรือเปล่า โดยการสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน สำหรับฮาร์ดดิสก์แล้ว เครื่องจะสั่งให้ทำการเลื่อนหัวอ่าน/บันทึก ไปที่ Cylinder 0 ก่อนแล้วย้ายไปอยู่ที่ Cylinder สูงสุดแล้วกลับมายัง Cylinder 0 อีกครั้ง
                การทำงานจะเป็นไปตามนี้เมื่อมีการกำหนด ค่า Configuration อย่างถูกต้อง และสายต่อต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและแน่นหนา รวมทั้งฮาร์ดแวร์ต้องทำงานอย่างถูกต้อง
กรบู้ตขั้นที่ 2 : โหลด MBR และตรวจสอบความถูกต้องของตารางพาร์ติชั่น
                ถ้าการเซ็ตอัพฮาร์ดแวร์เป็นไปอย่างถูกต้อง เครื่องจะปรากฏแสงที่ตำแหน่งของฮาร์ดแวร์ขึ้นมาในช่วงสั้นๆ ในขณะที่ทำการบู้ตเครื่อง ในส่วนของฮาร์ดดิสก์นั้นแสดงให้ทราบว่าระบบกำลังอ่าน MBR ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง head 0, cylinder 0, sector 1 ถ้าความพยายามในการอ่านไม่ได้ผล ไดรว์จะไม่ได้รับความสนใจจากระบบ และอาจมีรายงานว่า “Drive 0 failure” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ BIOS ของระบบที่ติดตั้งอยู่ในระบบเอง
                MBR ประกอบด้วยตารางพาร์ติชันซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ซึ่งจะอธิบายว่าฮาร์ดดิสก์มีการแบ่งเนื้อที่อย่างไรและโปรแกรมสั้นๆ สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของตารางพาร์ติชันนั้นด้วย ถ้าตารางพาร์ติชันถูกต้อง มันจะใช้รายละเอียดในตารางพาร์ติชันสำหรับค้นหา และโหลด DBR จากพาร์ติชันที่ทำงาน
                ในส่วนของโปรแกรมสั้นๆ ที่อยู่บน MBR มีหน้าที่ 3 ประการดังนี้
1.             ตรวจสอบว่าตารางพาร์ติชันนั้นถูกต้อง
2.             ค้นหาพาร์ติชันที่บู้ตได้ หรือทำงานบนไดรว์ได้
3.             โหลดเซกเตอร์แรกของพาร์ติชันนั้น ในกรณีที่เป็นพาร์ติชันของ DOS จะเรียกเซกเตอร์แรกว่า DBR(Dos Boot Record)
การบู้ตขั้นที่ 3 : ตรวจสอบ (DBR)
                ถ้าไม่มีปัญหาในส่วนของ MBR ระบบจะทำการโหลดข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับเซกเตอร์ที่เรียกว่า DBR เข้าไปและทำให้ DBR ทำงานได้
                ตารางพาร์ติชันจำแนกตำแหน่งของ DBR โดยการชี้ตำแหน่งดังกล่าว ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะบรรจุ DBR ไว้ที่ตำแหน่ง cylinder 0, head 1, sector 1 เฉพาะกรณีที่ใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียว แต่ถ้าเป็นแบบอื่นอาจไม่เป็นดังตัวอย่าง




หน้าที่ของ DBR มี 5 ประการดังนี้
1.             รีเซ็ตไดรว์ที่บู้ตได้
2.             โหลดเซกเตอร์แรกของไดเร็คทอรีหลักเข้าไว้ในหน่วยความจำ
3.             ตรวจสอบ 2 entries แรกว่าเป็นชื่อของไฟล์ที่ซ่อนอยู่
4.             โหลดไฟล์ที่ซ่อนอยู่ลงในหน่วยความจำ
5.             ส่งผ่านการควบคุมไปยังไฟล์ที่ซ่อนอยู่
DBR ได้บรรจุโครงสร้างที่สำคัญของข้อมูลที่เรียกว่า BPB(The BIOS Parameter Block)
เนื่องจาก DBR เป็นเซกเตอร์แรกในพาร์ติชัน BPB จึงประกอบด้วยข้อมูลซึ่งอธิบายรายละเอียดของพาร์ติชันให้ DOS รู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น